1066 1414 1497 1151 1666 1530 1542 1720 1924 1013 1159 1128 1944 1607 1872 1479 1698 1807 1378 1931 1538 1244 1587 1422 1267 1381 1879 1448 1428 1807 1052 1405 1026 1685 1692 1296 1451 1963 1438 1871 1252 1048 1331 1726 1805 1960 1922 1385 1708 1762 1841 1177 1181 1028 1457 1234 1331 1501 1400 1823 1021 1147 1358 1307 1033 1713 1061 1586 1030 1107 1682 1528 1019 1902 1869 1722 1485 1451 1204 1226 1451 1660 1734 1155 1936 1862 1365 1713 1651 1908 1493 1649 1224 1046 1068 1778 1049 1503 1429 วัดปงสนุก - Banpongsanook School | https://www.pongsanook.ac.th

วัดปงสนุก

วัดปงสนุก

 

        เปิดตำนาน “วัดปงสนุก” แห่งเขลางค์นคร ธรรมสถานหนึ่งเดียวของไทย ที่พึ่งได้รับรางวัล “Award of Merit” จาก UNESCO ในปี 2008 เผยเส้นทางการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม-สถาปัตยกรรมเก่าแก่ ที่เหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในประเทศ จากชุมชน-รัฐ

        วัดปงสนุก หรือวัดปงสนุกเหนือ ตั้งอยู่ในเขต ต.เวียงเหนือ อ.เมือง จ.ลำปาง เป็นวัดสำคัญคู่กับจังหวัดลำปางมาช้านาน สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยที่เจ้าอนันตยศ ราชบุตรของพระนางจามเทวีแห่งหริภุญไชย (ลำพูน) เสด็จมาสร้างเขลางค์นคร (ลำปาง) เมื่อ พ.ศ.1223 หรือ 1,328 ปีก่อน ซึ่งเมื่อวันที่ 16 พ.ย.ที่ผ่านมา พระครูโสภิตขันตยาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดปงสนุกด้านเหนือ อ.เมือง จ.ลำปาง พึ่งรับมอบรางวัลดี (Award of Merit) ด้านการอนุรักษ์มรดกทางด้านวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ตามโครงการ 2008 Asia-Pacific Heritage Award for Cultural Heritage Conservation จากองค์การ UNESCO โดยมีดร.ริชาร์ด อิงเกิลฮาร์ท” ที่ปรึกษาอาวุโสในผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ด้านวัฒนธรรมประจำองค์การยูเนสโก เป็นผู้ถวายรางวัลหออารักษ์
 

 
       ลุงมานพ คันธวิสูตร มรรคนายกวัดปงสนุกเหนือ เล่าให้ฟังว่า แม้ตนจะไม่ได้สัมผัสกับวิถีชีวิตในอดีตมายาวนานกับวัดแห่งนี้ แต่ก็ได้รับการบอกเล่าจากพระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่ได้ศึกษาค้นคว้าจากตำรับตำราโบราณ เช่น จากใบลาน และอื่นจนทราบถึงความเป็นมาของวัดแห่งนี้ว่า เดิมวัดปงสนุกมีชื่อเรียกถึง 4 ชื่อ ได้แก่วัดศรีจอมไคล-วัดเชียงภูมิ-วัดดอนแก้ว–วัดพะยาว
 

 
        เสาหลักเมืองเสาแรกของเขลางค์นคร หรือจังหวัดลำปาง จากประวัติศาสตร์พบว่า เป็นชื่อที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์การอพยพผู้คนในเหตุการณ์ช่วงปี พ.ศ.2346 ที่พญากาวิละได้ยกทัพเข้าโจมตีเมืองเชียงแสน ซึ่งเป็นที่ตั้งมั่นของพม่า และได้กวาดต้อนชาวเชียงแสนซึ่งเป็นชาวบ้านบ้านปงสนุกมาตั้งถิ่นฐานที่ลำปาง รวมถึงการอพยพของคนเมืองพะยาวที่หนีศึกพม่าลงมายังลำปาง ชาวปงสนุกเชียงแสน และชาวพะยาว จึงได้ ตั้งบ้านเรือนจนกลายเป็นหมู่บ้าน
 

        วิหารหลังมียอด หรือวิหารพระเจ้าพันองค์ หรือวิหาร 12 ราศี หรือวิหารสะเดาะเคราะห์ ราว พ.ศ.2386 เจ้าหลวงมหาวงศ์ได้ไปฟื้นฟูเมืองพะเยาขึ้นใหม่ รูบาอินทจักรพระอุปัชฌาย์ของครูบาอาโนชัยธรรมจินดามุนี ได้นำชาวพะยาว (พะเยา) อพยพกลับ แต่ก็ยังคงเหลืออีกจำนวนหนึ่งที่ไม่ยอมกลับ ละได้มาตั้งรกรากอยู่กับชาวบ้านปงสนุก ตั้งแต่นั้นมาชื่อวัดและหมู่บ้านจึงเหลือเพียง “ปงสนุก” เพียงชื่อเดียว
 

 
         บันไดทางขึ้นซุ้มประตูโขง ที่ถือเป็นสถาปัตยกรรมเก่าแก่ของวัดอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งกำลังรอรับการบุรณะต่อไป ต่อมา จึงได้มีการแบ่งวัดเป็นวัดปงสนุกด้านเหนือและวัดปงสนุกด้านใต้ เรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2429 ได้มีการบูรณะครั้งใหญ่ โดยเริ่มจากการซ่อมพระเจดีย์ สร้างฉัตร ก่อซุ้มประตูโขง วิหารหลังมียอด หรือวิหารพระเจ้าพันองค์ หรือวิหาร 12 ราศี หรือวิหารสะเดาะเคราะห์ เนื่องจากในสมัยก่อนทั้งเจ้านายชั้นสูงและประชาชนทั่วไป เมื่อมีเคราะห์ ต่างก็จะพากันมาสะเดาะเคราะห์ ณ วิหารแห่งนี้ทั้งสิ้น
 

 
       ซุ้มประตูโขง นอกจากนี้ยังพบว่า วัดปงสนุก เป็นสถานที่ประดิษฐานเสาหลักเมืองเสาแรกของลำปาง ก่อนจะนำไปประดิษฐาน ณ บริเวณศาลากลาง(หลังเก่า) ในปัจจุบันด้วย ด้านนายอนุกูล ศิริพันธุ์ สมาชิกเทศบาลนครลำปางและประธานชุมชนบ้านปงสนุกเหนือ เล่าถึงแรงบันดาลใจของชุมชนที่ต้องออกมาบูรณะเจดีย์และวิหารพระเจ้าพันองค์ ว่า เนื่องจากพระเจดีย์ ีอายุเก่าแก่เท่าๆกับดอยสุเทพ ที่จังหวัดเชียงใหม่ คือกว่า 500 ปี วิหารพระเจ้าพันองค์ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมเก่าแก่ ที่รวบรวมไว้ทั้งงานด้านจิตรกรรม สถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างไทย จีน พม่า ซึ่งมีเพียงแห่งเดียวของประเทศก็ว่าได้ เริ่มทรุดโทรมลงตามกาลเวลา ประกอบกับช่วงปี พ.ศ.2548 มีนักท่องเที่ยวทั้งต่างชาติ คนไทย และกลุ่มนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างๆ เข้ามาค้นคว้าหาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของวัดจำนวนมาก ทำให้ทางวัดปงสนุกได้ตัดสินใจส่งเรื่องให้กรมศิลปากรพิจารณา เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรมวิหารพระเจ้าพันองค์ ซึ่งก็ได้รับความอนุเคราะห์จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ที่ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ
 

 
       โดยตลอดเวลา 4 ปี ที่ได้ร่วมกันบูรณะ ทางชุมชนฯได้ใช้กิจกรรมด้านศาสนา เป็นตัวชูโรง เพื่อให้ได้ทั้งพลังชุมชนและปัจจัยที่ได้มาในการบูรณะดังกล่าว จนส่งผลให้เกิดกระแสการตื่นตัวในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมในลำปางขึ้น อย่างกว้างขวางจนถึงขณะนี้
 

 
       ปัจจุบัน “วัดปงสนุก” ได้กลายเป็นแหล่งรวมของสิ่งสำคัญหลายอย่างที่ทรงคุณค่าทางด้านศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม มากมาย อาทิ พระพุทธรูปไม้ เสาหงส์ ซุ้มประตูโขง ภาพพระบฎ เขียนเรื่องพระเวนสันดรบนผ้าและกระดาษสา หีบธรรมโบราณ และธงช้างเผือกขนาดใหญ่ในสมัยรัชกาลที่6 ซึ่งทางวัดได้นำมารวมไว้เป็นพิพิธภัณฑ์
 

 
       นอกจากนี้ยังมีเจดีย์วิหารพระนอน วิหารพระเจ้าพันองค์ วิหารโถงทรงจัตุรมุขที่มีรูปแบบงดงาม ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมระหว่าง ลานนาไทย พม่า และจีน ที่ยังคงหลงเหลืออยู่เพียงแห่งเดียวของไทย ที่อาคารหลายแห่งในประเทศ เช่น หอคำไร่แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ได้นำไปเป็นแม่แบบในการก่อสร้างในปัจจุบัน ส่วนจุดเด่นของการได้รับรางวัล ด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม จากยูเนสโก ในครั้งนี้นั้นนายอนุกุล กล่าวว่า น่าจะเป็นเพราะรูปแบบของการบูรณะของทางวัดด้วย เพราะทางกรมศิลปากร ได้ใช้วัตถุเดิมเกือบ 100% ในการซ่อมแซม จะมีการเพิ่มเติมสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ไปบ้างบางส่วนที่ไม่กระทบกับองค์ประกอบหลัก เช่น การใช้น้ำยากันปลวกอย่างดี การทำชั้นรองกระเบื้อง เพื่อไม่ให้น้ำฝนไหลย้อนกลับและซึมลงมา เป็นต้น
 

       เมื่อดูแล้วจะเห็นได้ว่า เป็นการรักษาของเดิมไว้อย่างสมบูรณ์ ทำให้“โครงการอนุรักษ์มรดกทางศิลปกรรม สถาปัตยกรรมวิหารพระเจ้าพันองค์” วัดปงสนุกด้านเหนือ ได้รับคัดเลือกจาก 45 โครงการ ใน 13 ประเทศ ให้ได้รับรางวัล Award of Merit จากโครงการ 2008 Asia-Pacific Heritage Award for Cultural Heritage Conservation จากองค์การ UNESCO รางวัลดังกล่าวนับว่าเป็นความภูมิใจอย่างยิ่ง ไม่เพียงเฉพาะแต่ชุมชนปงสนุก ชาวลำปาง หากแต่เป็นความภูมิใจของคนไทยทั่วประเทศ ที่จะร่วมกันอนุรักษ์รักษามรดกทางวัฒนธรรม แห่งนี้ให้อยู่คู่กับประเทศไทยสืบไป สำหรับแนวทางในการอนุรักษ์โบราณสถานแห่งนี้ ในอนาคตนั้นนายอนุกูล บอกว่า ต่อไปก็จะเริ่มดำเนินการบูรณะ ซุ้มประตูโขงและบริเวณโดยรอบก่อน เพราะขณะนี้ทรุดโทรมมากเกรงว่าหากปล่อยไว้จะทำให้รายละเอียดต่างๆหายไป และจะยากในการซ่อมแซมให้เหมือนดังเดิมได้